กฏ-กติกา สนุกเกอร์มืออาชีพ ระดับโลก WPBSA

มาดู กฏ-กติกา สนุกเกอร์มืออาชีพ วิธีการนับคะแนนของ สนุกเกอร์กันว่า เขาจะนับแต้มกันอย่างไร แล้วต้องทำคะแนนแบบไหนถึงจะชนะคู่แข่งได้ หากเล่นโดยไม่มีแผนสำรองหรือแผนที่เหนือกว่า รับรองว่ามีแต่แพ้แน่ๆ มารับชมกันเลย

มาตรฐานโต๊ะสนุกเกอร์

ขนาด (Dimension)
พื้นที่สำหรับใช้ในการเล่น วัดจากขอบผิวของคุชชั่น จะต้องมีขนาด 11 ฟุต 8 1/2 นิ้ว X 5 ฟุต 10 นิ้ว (3,596 มม. X 1,778 มม.) โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน ±1/2 นิ้ว (±13 มม.)
ความสูง (Height)
ความสูงของโต๊ะ วัดจากพื้นห้องถึงขอบผิวของคุชชั่น จะต้องอยู่ระหว่าง 2 ฟุต 9 1/2 นิ้ว – 2 ฟุต 10 1/2 นิ้ว (851 มม. – 876 มม.)

หลุม (Pockets)
1.โต๊ะจะมีหลุมตามมุม 2 หลุม ทางด้าน “จุดสปอต” ซึ่งเรียกว่า “หลุมบน” และอีก 2 หลุมทางด้านในเมือง ซึ่งเรียกว่า “หลุมล่าง” และมีหลุมที่กึ่งกลางด้านยาวของโต๊ะอีกข้างละ 1 หลุม ซึ่งเรียกว่า “หลุมกลาง”
2.ขนาดต่างๆ ของหลุม จะต้องเป็นไปตามแม่แบบ (Template) ซึ่งได้รับการรับรองจากสมาคมบิลเลียด และสนุกเกอร์อาชีพโลก (WPBSA)

เส้นเมือง และในเมือง (Balk and In Balk)
เส้นตรงซึ่งลากห่างจากขอบ และขนานกับคุชชิ่งล่าง 29 นิ้ว (737 มม.) เรียกว่า “เส้นเมือง” และเนื้อที่ซึ่งอยู่ระหว่างเส้นกับขอบคุชชิ่งล่าง เรียกว่า “ในเมือง”

ครึ่งวงกลม (ตัว D)
“ครึ่งวงกลม (ตัว D)” ซึ่งเขียนไว้ “ในเมือง” จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางของ “เส้นเมือง” และมีรัศมี 11 1/2 นิ้ว (292 มม.)
จุดต่างๆ (Spots)
1.จุดต่างๆ มีการกำหนดไว้ 4 จุด โดยตั้งอยู่บนแนวกึ่งกลางของโต๊ะตามทางยาว คือ
2.จุด “สปอต” ห่างจากขอบด้านในของคุชชั่นบน 12 3/4 นิ้ว (324 มม.)
3.จุด “เซ็นเตอร์” ตั้งอยู่ที่จุดกึ่งกลางระหว่างขอบคุชชั่นบน กับขอบคุชชั่นล่าง
4.จุด “ปิรามิด” ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง “จุดเซ็นเตอร์” กับขอบคุชชั่นบน
“จุดกลางของเส้นเมือง”

กฏ-กติกา สนุกเกอร์มืออาชีพ ระดับโลก WPBSA
กฏ-กติกา สนุกเกอร์มืออาชีพ ระดับโลก WPBSA

เฟรมการเล่น (Frame)
“เฟรมการเล่น” ของกีฬาสนุกเกอร์ จะเริ่มนับจาก “การแทง” เปิดในไม้แรกของผู้เล่น โดยลูกสนุกเกอร์ทุกลูกตั้งอยู่ที่จุดต่างๆ ตามที่ได้ระบุไว้ใน หมวดที่ 3 ข้อ 2 และ “เฟรมการเล่น” จะจบสิ้นลงเมื่อ

1.ผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยอมแพ้ เมื่อถึงเที่ยวแทงของตน
2.“ผู้แทง” ที่มีคะแนนนำเกินฝ่ายตรงข้ามกว่า 7 แต้ม สามารถยุติการเล่นใน “เฟรมการเล่น” นั้นลงได้ หากเหลือลูกดำบนโต๊ะเพียงลูกเดียว ซึ่งจะทำให้คะแนนที่เหลือบนโต๊ะไม่เพียงพอที่จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถตีเสมอหรือเอาชนะได้
3.การตบลูกที่เหลือบนโต๊ะลูกสุดท้ายลง หรือ “การทำฟาล์ว” ในขณะที่เหลือเพียงลูกดำบนโต๊ะเพียงลูกสุดท้าย หรือ
4.ผู้ตัดสินประกาศให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นผู้ชนะตามกฎที่ระบุไว้ใน หมวดที่ 3 ข้อ 14.3 หรือใน หมวดที่ 4 ข้อ 2
กฏ-กติกา สนุกเกอร์มืออาชีพ ระดับโลก WPBSA

 ผู้แทง และ เที่ยวแทง (Striker and Turn)

“ผู้เล่น” ที่กำลังเล่น หรืออยู่ในระหว่างการเล่น ถือว่ายังเป็น “ผู้เล่น” จนกว่าจะจบการแทงครั้งสุดท้าย ได้กระทำฟาล์ว ซึ่งหมายถึงเที่ยวแทงนั้นได้จบสิ้นลง โดยผู้ตัดสินรับทราบ และเห็นว่า “ผู้เล่น” ได้เดินออกจากโต๊ะไปแล้ว หาก “ผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในเที่ยวแทง” (a non-striker) เดินมาที่โต๊ะ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในเที่ยวแทง และได้กระทำฟาล์วขึ้น

ผู้ตัดสินจะถือว่า “ผู้เล่น” นั้น เป็นเสมือน “ผู้เล่นในเที่ยวแทง” และจะต้องถูกปรับแต้มเช่นเดียวกับ “ผู้ที่อยู่ในเที่ยวแทง” ทุกประการ ก่อนเขาจะเดินออกจากโต๊ะไป เมื่อผู้ตัดสินได้เห็นว่า การทำฟาล์วที่เกิดขึ้น ได้มีการตัดสินลงโทษ “ผู้ทำฟาล์ว” ไปเรียบร้อยแล้ว ผู้เล่นคนต่อไปจึงจะออกมาเล่นต่อไปได้ เที่ยวแทงและสิทธิในการเล่น จะจบลงเมื่อไม่สามารถทำคะแนนในการเล่นได้ หรือได้กระทำการฟาล์วขึ้น หรือปฏิเสธการเล่น โดยให้ “ผู้เล่นที่ทำาล์ว” เล่นต่อไปจากตำแหน่งที่ลูกยืนอยู่

แต่ถ้าเล่นสนุกเกอร์แล้วยังไม่สะใจ เราขอแนะนำเกม Reactoonz ซึ่งเป็นเกมรูปแบบสล็อตออนไลน์สามารถทดลองเล่นแบบฟรีหรือแบบเดิมพันได้ ตามที่เราชอบ รับรองว่าสนุกไม่แพ้สนุกเกอร์แน่นอน

คนชอบเล่นเกมสนุกเกอร์ห้ามพลาด : รวมเกมสนุกเกอร์